รู้จักกับชิมช้อปใช้ และข้อมูลนโยบายชิมช้อมใช้ได้ง่าย จ่ายสะดวก (ล่าสุด)

รู้จักกับชิมช้อปใช้ และข้อมูลนโยบายชิมช้อมใช้ได้ง่าย จ่ายสะดวก (ล่าสุด)

“ชิมช้อปใช้” ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ส่งเสริมการใช้จ่าย และการท่องเที่ยวในประเทศ

ในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ต้องยอมรับเลยว่าเงิน คือ สิ่งสำคัญที่ไม่สามารถขาดไปได้เลยจริง ๆ การใช้ชีวิตในแต่ละวันต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นแบบที่ไม่ทันได้ตั้งตัว ภาระใช้จ่ายต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะค่าอาหาร ค่ารถ ค่าน้ำมัน เรียกได้ว่าแค่ก้าวเท้าออกจากบ้านก็เสียเงินแล้ว ในช่วงปี 2567 ที่ผ่านมากระแสของ “ชิมช้อปใช้” ผ่านการดาวน์โหลดแอพกระเป๋าตังกรุงไทย มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของทางรัฐบาลเป็นที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากเลยทีเดียว ซึ่งนโยบายนี้รัฐได้ทุ่มงบประมาณไปเป็นหลักหมื่นล้านบาท เพื่อแจกเงินช่วยเหลือให้กับประชาชน และเป็นการส่งเสริมให้เกิดการบริโภค และการท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาให้กลับมาดีขึ้น ทางรัฐบาลนั้นได้ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษกิจนี้มาอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2567 โดยโครงการชิมช้อปใช้ล่าสุดเป็นชิมช้อปใช้เฟส 4 แล้วนั่นเอง

 

ทำความรู้จักกับมาตรการชิมช้อปใช้

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่ารัฐบาลได้ออกมาตรการต่าง ๆ มากมาย เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งนโยบายชิมช้อปใช้ เป็นหนึ่งในมาตรการที่หลาย ๆ คนให้ความสนใจ และได้เสียงตอบรับเป็นอย่างดี ในวันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับนโยบายชิมช้อปใช้กัน

โครงการชิมช้อปใช้ คือ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยนโยบายนี้มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ และสนับสนุนให้เกิดการใช้จ่ายของภาคประชาชน โดยเปิดให้ลงทะเบียนชิมช้อปใช้ผ่านทาง www.ชิมช้อปใช้.com ซึ่งมีเงื่อนไขในการลงทะเบียนชิมช้อปใช้ ดังนี้

  • เป็นบุคคลสัญชาติไทย และมีบัตรประจำตัวประชาชน
  • มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน
  • มีอีเมล และโทรศัพท์มือถือที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้

การใช้จ่ายของชิมช้อปใช้ จะเป็นการใช้จ่ายผ่านระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ g-Wallet ของแอปพลิเคชันเป๋าตัง ซึ่งวงเงินที่จะได้รับจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

กระเป๋าตังใบที่ 1 จะได้รับเงิน 1,000 บาท เพื่อใช้จ่ายภายในจังหวัดที่ลงทะเบียนไว้

กระเป๋าตังใบที่ 2 จะได้รับเงินคืน 15% ของค่าใช้จ่ายในวงเงินที่ไม่เกิน 30,000 บาท โดยที่ต้องเติมเงินเข้า g-Wallet เพื่อใช้จ่ายเอง

 

ปลดล็อกการใช้จ่าย ขยายเวลาโครงการชิมช้อปใช้ในเฟสล่าสุด

ภายหลังจากการเปิดให้ลงทะเบียนของโครงการชิมช้อปใช้เฟส 1 เมื่อเดือนกันยายน 2567 ที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับที่ดี และมีผู้เข้าร่วมโครงการครบเต็มจำนวนภานในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้มีคนอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถลงทะเบียนในรอบนี้ได้ทัน ทางรัฐบาลจึงได้เปิดให้มีการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการชิมช้อปใช้ลงทะเบียนเฟส 2 อีกครั้งในเดือนตุลาคม 2567 แต่กลับพบปัญหาว่าในการลงทะเบียนชิมช้อปใช้ ทั้งเฟส 1 และ 2 ประชาชนส่วนใหญ่ใช้จ่ายแต่เงิน 1,000 บาท ที่ได้รับฟรีเท่านั้น ไม่ต้องไปกู้เงินด่วนออนไลน์ใดๆ เลย

จากปัญหาดังกล่าว มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชิมช้อปใช้เฟส 3 จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ใช้ได้แค่กระเป๋าตังที่ 2 เท่านั้น ซึ่งจะต้องทำการเติมเงินเข้า g-Wallet เพื่อใช้จ่าย และได้รับเงินคืน 15% ของค่าใช้จ่ายในวงเงินที่ไม่เกิน 30,000 บาท โดยได้มีการปลดล็อกให้ใช้จ่ายได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย และขยายระยะเวลาออกไปจนสิ้นเดือนมกราคม 2567

 

ชิมช้อปใช้คนละครึ่ง ใช้จ่ายได้300 บาทต่อวัน รัฐจ่ายให้ครึ่งหนึ่ง

เมื่อสิ้นสุดโครงการชิมช้อปใช้ในเฟสที่ 3 ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางรัฐบาลก็ยังคงหาแนวทางเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจใหม่ ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง และล่าสุดได้ออกมาตรการใหม่ในชื่อ “โครงการคนละครึ่ง” ซึ่งหลายคนเรียกกันว่า “ลงทะเบียนชิมช้อปใช้” เป็นอีกหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีความน่าสนใจไม่แพ้กันเลยทีเดียว

โครงการคนละครึ่ง หรือชิมช้อปใช้คนละครึ่ง นี้ เป็นมาตรการการส่งเสริมการใช้จ่ายที่รัฐจะมอบเงินให้กับประชาชนคนละ 3,000 บาท โดยเป็นการใช้จ่ายที่รัฐบาลจะออกเงินให้ครึ่งหนึ่ง และเราออกเงินเองอีกครึ่งหนึ่ง ใช้จ่ายคนละครึ่งในวงเงินไม่เกิน 300 บาทต่อวัน ซึ่งเปิดให้ลงทะเบียนสมัครชิมช้อปใช้ 3,000 บาท ไปเมื่อตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา

จากผลการตอบรับของโครงเป็นคนละครึ่งที่ดีอย่างล้นหลาม จึงได้มีโครงเป็นคนละครึ่งในเฟส 2 ขึ้นมา โดยคนละครึ่งในปี 2024 นี้ มีการปรับเพิ่มวงเงินเป็น 3,500 บาท และขยายระยะเวลาของโครงการไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2567

 

มีคนจำนวนไม่น้อยที่สับสนว่าโครงการชิมช้อปใช้ลดหย่อนภาษีได้เหมือนกับโครงการช้อปดีมีคืน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เนื่องจากชิมช้อปใช้ เป็นเพียงมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายเท่านั้น ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้ แต่อย่างไรก็ตามโครงการชิมช้อปใช้ ก็ถือได้ว่าเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดีมาก ๆ มาตรการหนึ่ง อีกทั้งยังช่วยกระจายรายได้ให้กับผู้ประกอบการในท้องถิ่นต่าง ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย