บริการ กยศ หักเงินเดือนออนไลน์ และวิธีติดต่อกยศหักเงินเดือน ปี 2567

บริการ กยศ หักเงินเดือนออนไลน์ และวิธีติดต่อกยศหักเงินเดือน ปี 2567

กยศ หักเงินเดือน ชำระหนี้ เพื่อส่งต่อโอกาสดี ๆ ให้รุ่นต่อไป

“การศึกษา” คือปัจจัยพื้นฐานในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ความยากจนกลับเป็นอุปสรรคที่คอยขัดขวาง ทำให้บางคนไม่สามารถเข้าสู่ระบบการศึกษาได้ ในบางครอบครัวที่ไม่มีทุนทรัพย์มากพอจะจ่ายค่าเล่าเรียน ส่งผลให้มีเด็กไทยจำนวนไม่น้อยต้องสูญเสียโอกาสในการศึกษาต่อในระดับมัธยมปลาย หรือมหาวิทยาลัย ด้วยเหตุนี้ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จึงได้เข้ามาช่วยเหลือ เพื่อมอบโอกาสให้กับคนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้สามารถศึกษาต่อได้ และเมื่อเราได้รับโอกาสแล้ว เราก็ควรที่จะจ่ายกยศ เพื่อส่งต่อโอกาสเหล่านี้ให้กับผู้อื่นด้วยเช่นกัน ซึ่งในปี 2567 นี้ สามารถชำระหนี้ได้ง่าย และสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยในวันนี้เราจะมาพูดถึงรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการหักเงินเดือน กยศ ที่คล้ายๆ การกู้เงินผ่อนรายเดือนกันว่า กยศหักเงินเดือนกี่เปอร์เซ็น กยศหักเงินเดือนเดือนละเท่าไหร่ หรือถ้ากยศไม่หักเงินเดือนได้ไหม เราไปดูคำตอบพร้อม ๆ กันเลย

 

กยศ หักเงินเดือน ส่งหนังสือให้นายจ้าง นำส่งเงินคืนให้กองทุน

เป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมากเลยทีเดียว สำหรับกระแสข่าวกยศ หักเงินเดือนของผู้กู้ยืม ซึ่งทางกองทุนได้ดำเนินการการออกหนังสือแจ้งไปยังองค์กรนายจ้างทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ให้ทำการหักเงินเดือนพนักงานที่เป็นกู้ยืมเงิน และนำส่งเงินเพื่อชำระคืนให้กับกองทุน

ในส่วนของขั้นตอนการหักเงิน กยศ ของพนักงาน หรือลูกจ้างที่เป็นผู้กู้ยืมเงินผ่านทางองค์กรนายจ้าง ทางกองทุนจะทำการจัดส่งหนังสือแจ้งหักเงินเดือนไปยังที่อยู่ในทะเบียนราษฎร์ของผู้กู้ให้รับทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 60 วัน หลังจากนั้นทางกองทุนจึงจะดำเนินการจัดส่งหนังสือเพื่อแจ้งให้นายจ้างถึงข้อมูลของผู้กู้ยืม และจำนวนเงินที่จะต้องทำการหักนำส่ง ทราบล่วงหน้าประมาณ 30 วัน ทั้งนี้นายจ้างสามารถตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องทำการหัก และนำส่งออนไลน์ผ่าน e-PaySLF หรือระบบรับชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาผ่านกรมสรรพากรได้ ซึ่งสามารถเข้าใช้งานได้ที่เว็บไซต์ www.studentloan.or.th

 

กยศหักเงินเดือนกี่เปอร์เซ็น และมีหลักเกณฑ์การหักเงินเดือนกยศ อย่างไร ?

กยศ. ได้เดินหน้ามาตรการหักเงินเดือน กยศ ลูกจ้างขององค์กรภาครัฐ และเอกชน ที่เป็นลูกหนี้ของทางกองทุน โดยมาตรการหักเงินกยศจากบัญชีเงินนี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2567 ซึ่งได้กำหนดเอาไว้ว่าองค์กรนายจ้างภาครัฐ หรือเอกชนที่มีลูกจ้าง หรือพนักงานที่เป็นลูกหนี้ของกองทุนกยศ.จะต้องทำการหักเงินเดือน และนำส่งเงินเพื่อชำระคืนให้กับกองทุน

เมื่อพนักงานได้รับเงินเดือน ซึ่งลำดับในการหักเงินเดือนของกองทุนกยศ. จะอยู่ในลำดับ 3 โดยมีการเรียงลำดับ ดังนี้

  • ลำดับที่ 1 การหักภาษี ณ ที่จ่าย
  • ลำดับที่ 2 หักกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และประกันสังคม
  • ลำดับที่ 3 หักเงินของกองทุน กยศ.

กยศหักเงินเดือนกี่เปอร์เซ็น ? ในส่วนของการคำนวณยอดเงินที่จะหักจากเงินเดือน ทางกองทุนจะใช้ยอดหนี้ตามตารางการชำระรายปี แล้วหารด้วย 12 หรือจำนวนเดือนที่เหลือก่อนถึงวันครบกำหนดชำระหนี้ ซึ่งก็คือ วันที่5 กรกฎาคมของทุกปีนั่นเอง และในงวดของปีต่อไปก็จะเริ่มหักเงินเดือนจากเดือนกรกฎาคมของทุกปีไปเรื่อย ๆ จนกว่าการชำระหนี้จะเสร็จสิ้น

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่าผู้กู้คนใดไม่สามารถชำระหนี้ตามจำนวนเงินที่แจ้งไปได้ สามารถทำการขอปรับเพื่อลดจำนวนเงินลงได้ โดยจะต้องแจ้งความประสงค์ในการขอลดจำนวนเงินในการหักเงินเดือนผ่านทางแอปพลิเคชัน “กยศ. Connect” ซึ่งทางกองทุนกยศ. จะอนุโลมให้ชำระในยอดขั้นต่ำเพียง 100 บาท ได้ แต่ผู้กู้จะต้องไปดำเนินการชำระเงินในส่วนที่ขาดไปของงวดนั้นให้ครบก่อนวันครบกำหนดชำระหนี้รายปีด้วย

 

แจ้งเหตุผล เพื่อขออนุโลม เมื่อไม่สามารถหักเงินเดือนได้

มาตรการกยศ หักเงินเดือน ทางกองทุนกยศ.จะทำการปรับข้อมูลของผู้กู้ยืมให้เป็นการปัจจุบัน และจะดำเนินการแจ้งข้อมูลที่นายจ้างต้องหัก และนำส่งให้นายจ้างได้ทราบผ่านทางระบบ e-PaySLF ในวันที่ 5 ของทุก ๆ เดือน ซึ่งถ้าหากว่านายจ้างไม่ดำเนินการหักเงินเดือนตามพ.ร.บ. ดังกล่าว นายจ้างจะต้องทำการชดใช้เงินที่ต้องนำส่งของผู้กู้ตามจำนวนที่ทางกองทุนได้แจ้งให้ทราบ และต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนของจำนวนเงินที่ยงไม่ได้นำส่ง ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการหักเงินเดือนของลูกจ้างได้ สามารถแจ้งเหตุผล หรือความจำเป็น เพื่อขออนุโลม และผ่อนผันได้ ซึ่งตั้งแต่ได้เริ่มมาตราการมาจนถึงในปัจจุบันทางกองทุนก็ยังไม่เคยได้เรียกเงินชดใช้ หรือเงินเพิ่มเติมจากนายจ้างเลย

สำหรับผู้กู้ที่มีความประสงค์ที่จะชำระเงินกู้สินเชื่อเงินด่วนออนไลน์ กยศเอง สามารถทำได้ แต่ถ้าหากว่าทางกองทุนได้ทำการส่งหนังสือไปถึงหน่วยงานองค์กรให้นายจ้างดำเนินการหักเงินเดือนแล้ว นายจ้างก็มีหน้าที่ในการหักเงินเดือน กยศ ซึ่งหมายความผู้กู้จะไม่สามารถชำระเงินกู้เองได้แล้ว

ถ้าหากว่านายจ้างคนใดที่ต้องการติดต่อกยศหักเงินเดือน สามารถสอบถามข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ที่ Line Official “กยศ.องค์กรนายจ้าง” หรือโทรหมายเลข 09 4212 6250 – 79 ส่วนผู้กู้ยืมที่กยศ หักเงินเดือนผ่านองค์กรนายจ้าง สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ที่ Line Official “กยศ.หักเงินเดือน” หรือโทรที่หมายเลข 0 2016 4888

 

  เมื่อเราเป็นคนหนึ่งที่เคยได้รับโอกาสในการศึกษาจากกองทุนกยศ. ก็คงจะทราบดีว่าการที่ได้รับโอกาสเหล่านี้นั้นมีค่ามากแค่ไหน และในปี 2024 นี้ ก็ยังมีผู้คนอีกเป็นจำนวนมากที่รอคอยโอกาสนี้อยู่ ซึ่งเราสามารถส่งต่อสิ่งดี ๆ ให้กับผู้มากมายที่รอคอยความหวังอยู่ได้ ด้วยการชำระหนี้คืนให้กับกองทุน และในปัจจุบันก็มีมาตรการกยศ หักเงินเดือน ให้นายจ้างหักเงินเดือนลูกจ้างที่เป็นลูกหนี้ เพื่อนำส่งเงินคืนให้กับทางกองทุน ช่วยให้ทางกองทุนนั้นมีเงินไปหมุนเวียน และสร้างโอกาสให้กับคนอื่นต่อ ๆ ไป